Hosting คืออะไร คนจะทำเว็บไซต์ออนไลน์ต้องรู้

การทำเว็บไซต์ออนไลน์จะต้องมีการใช้พื้นที่ server เพื่อใช้ในการเก็บและส่งผ่านข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งผู้ที่จะดูแลให้การทำงานต่าง ๆ เป็นไปอย่างราบรื่น คือ บริษัท web hosting ของเอกชนที่มีบริการให้เลือกหลายแห่งในปัจจุบัน โดยบริษัทจะทำหน้าดูในการดูแลฐานข้อมูล ระบบปฏิบัติการ การติดตั้งแอปพลิเคชัน ควบคุมความเสถียร รวมถึงรักษาความปลอดภัยให้กับเว็บไซต์ของคุณ โดยมีการคิดค่าบริการที่แตกต่างกันไปตามแพ็กเกจ

ในปัจจุบัน บริษัท web hosting แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ

1. Shared Hosting

เหมาะสำหรับผู้ทำธุรกิจมือใหม่ เช่น แม่บ้าน นักศึกษา ที่ต้องการหาอาชีพเสริมจากการทำเว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์ ยังไม่แน่ใจในทิศทางการเติบโตของธุรกิจที่จะลงทุน ควรเลือก Shared Hosting ที่มีการคิดค่าบริการต่ำกว่า Hosting ประเภทอื่น ๆ ทั้งนี้ อาจมีปัญหาที่พบบ่อย จากการแบ่งปันทรัพยากรร่วมกันใน Server เช่น ปัญหาการดาว์นโหลดข้อมูลช้า เว็บไซต์ล่ม หรือ อัพโหลดภาพใช้เวลานาน ฯลฯ ซึ่งโดยมากแล้วจะมีทีมงานที่ติดต่อได้คอยประสานงานแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

2. VPS Hosting (Virtual Private Server Hosting)

เหมาะสำหรับเว็บไซต์ที่ต้องการใส่ Application เสริมเพิ่มเติม เพื่อบริการลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย อาจเป็นนักธุรกิจรายย่อยที่ทำธุรกิจขนาดกลาง โดยเว็บไซต์ออนไลน์มาต่อเนื่องแล้ว 1-3 ปี ที่มีแนวโน้มลูกค้าใช้บริการมากขึ้นเรื่อย ๆ และต้องการสร้างลูกเล่นในการนำเสนอที่แปลกใหม่ VPS Hosting จะมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดในการดาว์นโหลดข้อมูลต่าง ๆ น้อยกว่าแบบ Shared Hosting

3. Dedicated Server

เป็นบริการ server ที่ทาง hosting จะจัดสรรทรัพยากรในระบบคอมพิวเตอร์ ให้แก่เจ้าของธุรกิจรายใดรายเดียว ทำให้มีความปลอดภัยขั้นสูง ป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลลูกค้าได้อย่างดีเยี่ยม และยังมีความเสถียรในการส่งข้อมูลสูงที่สุดด้วย หากทำธุรกิจที่มีอัตราการแข่งขันสูง มีข้อมูลลูกค้าที่ไม่ต้องการเสี่ยงต่อการรั่วไหลของความลับต่าง ๆ ก็ควรเลือก hosting ประเภทนี้ แต่ก็ทำให้มีค่าใช้จ่ายที่สูงมากตามมาด้วย

หลักเกณฑ์ในการเลือก hosting ที่เหมาะสมสำหรับคนทำเว็บไซต์มือใหม่ควรรู้

1. เลือกตามความจำเป็น

หากเป็นเว็บไซต์เปิดใหม่ เป็นเว็บบล็อกส่วนตัว แนะนำที่กินเที่ยว สร้างแบรนด์ระดับเบื้องต้น ก็ควรใช้ hosting ประเภท Shared Hosting เพื่อควบคุมค่าใช้จ่าย หากธุรกิจดำเนินได้ดีก็ค่อยปรับเป็นแบบที่ 2 และ 3

2. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์

ควรปรึกษาผู้รู้ว่าทรัพยากรใน hosting ที่ให้บริการหน่วยความจำและสเปกของเครื่อง Server รวมถึงโปรแกรมที่รองรับ ว่าตอบโจทย์การทำธุรกิจหรือไม่ ก่อนการตัดสินใจเลือก hosting

3. ดูประสบการณ์ของทีมบริษัททำ hosting

จากการรีวิวในแหล่งต่าง ๆ ว่า เมื่อระบบล่มหรือข้อมูลมีการรั่วไหล มีการแก้ไขปัญหาอย่างไร มีกรณีการฟ้องร้องเกิดขึ้นหรือไม่ เพื่อให้การตัดสินใจเป็นไปอย่างรอบด้านดียิ่งขึ้น

4. การย้ายหรืออัปเกรด Web hosting

ต้องสามารถทำได้ตลอดเวลา จึงไม่ต้องกังวลว่าจะต้องซื้อแพ็กเกจใหญ่แต่ครั้งแรกเพื่อให้ครอบคลุมเผื่อการเติบโตทางธุรกิจในอนาคต

จะเห็นได้ว่าการเลือก web hosting ที่เหมาะสมกับธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องศึกษาอย่างรัดกุม นอกจากนี้ การจะทำให้เว็บไซต์ประสบความสำเร็จ ยังต้องอาศัยองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น การพัฒนาเว็บไซต์ตามระบบ SEO การพัฒนาคุณภาพของสินค้าและการบริการอย่างสม่ำเสมอ จึงจะช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน

Hosting คืออะไร คนจะทำเว็บไซต์ออนไลน์ต้องรู้