ผ้าทอใยกล้วย จากภูมิปัญญาล้านนาสู่หัตถกรรมสร้างรายได้

กล้วย คือผลไม้พื้นบ้านที่มีคุณค่าทางโภชนาการมากเสียจนนับไม่ถ้วน ซึ่งนอกจากจะนำส่วนต่าง ๆ ของกล้วยมาปรุงเป็นอาหารรับประทานได้เกือบทุกส่วนแล้ว คนไทยยังนำกาบกล้วยมาต่อยอดสร้างสรรค์งานหัตถศิลป์ได้อย่างน่าชื่นชม โดยมีหน่วยงานภาครัฐ ตลอดจนสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทางภาคเหนือได้ทำการค้นคว้า วิจัยและพัฒนาต่อยอดจากเส้นใยกล้วย จนกลายเป็นผ้าทอใยกล้วยที่มีอัตตลักษณ์จากภูมิปัญญาของชาวล้านนาสู่วงการแฟชั่นระดับประเทศ ด้วยคุณสมบัติพิเศษหลายประการของเส้นใยกล้วย เช่น มีความแข็งแรง ทนทาน เหนียวนุ่ม มันเงา ระบายอากาศ และช่วยระบายอากาศได้ดี จึงสามารถนำไปปั่นผสมกับเส้นใยอื่น ๆ เพื่อนำใช้ในอุตสาหกรรมการทอผ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระบวนการผลิตผ้าทอใยกล้วย เริ่มจากการเลือกกล้วยที่ตัดเครือกล้วยออกไปแล้ว นำมาหั่นเป็นท่อน ๆ ยาวท่อนละ 60 เซนติเมตร จากนั้นลอกเปลือกชั้นนอกออก เลือกใช้กาบกล้วยตั้งแต่ชั้นที่ 2 จนถึงชั้นที่ 6 ตัดให้เหลือความกว้างประมาณ 3 นิ้ว ปอกผิวส่วนนอกออกแล้วใช้มีดขูดใยกล้วยตามความยาวจากบนลงล่าง นำใยกล้วยที่ได้ไปผึ่งแดดลมให้แห้ง แล้วจึงย้อมด้วยสีที่ได้จากวัตถุดิบธรรมชาติ เช่น สีแดงได้จากครั่ง หรือ เปลือกสะเดา สีม่วงจากดอกอัญชัน สีเหลืองจากขมิ้น และสีดำจากผลมะเกลือ เป็นต้น” โดยหลังจากทำการย้อมสีเส้นใยกล้วยแล้ว ช่างทอผ้าจะนำไปขึ้นเส้นยืนและทอกี่กระทบ จนกลายเป็นผ้าทอใยกล้วยสำเร็จรูปเพื่อจำหน่ายสร้างรายได้ หรือนำไปใช้ออกแบบ ตัดเย็บ เสื้อผ้า… Continue reading ผ้าทอใยกล้วย จากภูมิปัญญาล้านนาสู่หัตถกรรมสร้างรายได้